ธุรกิจด้านพลังงาน
พลังงานแสงอาทิตย์อีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานทดแทน
เนื่องด้วยสภาวะของโลกในปัจจุบันที่มีแน้วโน้มจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อนประกอบกับประเทศไทยต้องการลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ จึงได้เล็งเห็นพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ด้วยภูมิประเทศที่อยู่ในเส้นศูนย์สูตร ทำให้ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่าเขตอื่นๆ ของโลก ซึ่งการศึกษาจากข้อมูลดาวเทียมประกอบการตรวจวัดภาคพื้นดินของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) พบว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย ซึ่งมีความเข้มรังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปีประมาณ 18.2 เมกะจูลต่อตารางเมตร ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ร้อยเอ็ด ศรีสะเกศ อุบลราชธานี และอุดรธานี และบางส่วนอยู่ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เช่น สระบุรี ลพบุรีและพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์
จากศักยภาพดังกล่าว ทางภาครัฐจึงได้พยายามส่งเสริมให้ภาคเอกชนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการสนับสนุนทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน เช่น การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การสนับสนุนการกู้ยืมเงินทุนและเงินหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงิน เป็นต้น ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมา มีเอกชนให้ความสนใจยื่นเสนอขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 3,393 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม จากที่มีผู้สนใจลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก เกินกว่าเป้าหมายที่รับซื้อ 2,000 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานจึงได้หยุดการรับซื้อไฟฟ้าที่ให้ Adder 8 บาทต่อหน่วย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 เป็นต้นมา และปรับลด Adder ลงมาเหลือเพียง 6.50 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปีแทน เนื่องจากต้นทุนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกินระยะเวลากำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ เพื่อยกเลิกใบอนุญาต โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการยกเลิกไปแล้วประมาณ 400-500 เมกะวัตต์ เพื่อนำไปสู่การลงทุนที่แท้จริง รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Feed-in Tariff ที่ให้ราคาคงที่ ประมาณ 6.80 บาทต่อหน่วย ตลอดอายุสัมปทานต่อไป
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานจากธรรมชาติ ที่มีความสะอาดปราศจากมลพิษ เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงใช้อย่างไม่หมดสิ้น ซึ่งการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า จะช่วยเสริมความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยและยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง
ปัจจุบันการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ อาจจำแนกได้ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และการผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย คือ การใช้เซลล์อาทิตย์ (solar cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการ นำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ ซึ่งดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า ทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเล็คตรอน) ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ สามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้
ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ
Single Crystalline Silicon Solar Cell
Polycrystalline Silicon Solar Cell
Amorphous Silicon Solar Cell
- เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน ชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline Silicon Solar Cell) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Monocrystalline Silicon Solar Cell เป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแรกๆ ที่ได้รับการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนหนาประมาณ 300 ไมครอน หรือที่เรียกว่า เวเฟอร์ และชนิดผลึกรวม (Polycrystalline Silicon Solar Cell) ลักษณะเป็นแผ่นซิลิคอนแข็งและบางมากเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อ ลดต้นทุนของโซลาร์เซลล์แบบผลึกเดี่ยว โดยยังคงคุณสมบัติและประสิทธิภาพการใช้งาน ใกล้เคียงกับแบบผลึกเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะนิยมใช้เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทนี้
- เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจาก อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon Solar Cell) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลาในการผลิต เนื่องจากเป็นฟิลม์บางเพียง 0.5 ไมครอน น้าหนักเบาและมีความยืดหยุ่นกว่าแบบผลึก เหมาะกับการใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
- เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำอื่นๆ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์, แคดเมียม เทลเลอไรด์ และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ เป็นต้น มีทั้งชนิดผลึกเดี่ยว (Single Crystalline) และผลึกรวม (Polycrystalline) เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากแกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ จะให้ประสิทธิภาพสูงถึง 20-25%
โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์
โครงสร้างที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำที่ราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนโลก คือ ซิลิคอน จึงถูกนำมาสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ โดยนำซิลิคอนมาถลุง และผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ จนกระทั่งทำให้เป็นผลึก จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแพร่ซึมสารเจือปนเพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็น โดยเมื่อเติมสารเจือฟอสฟอรัส จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (เพราะนำไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ) และเมื่อเติมสารเจือโบรอน จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี (เพราะนำไฟฟ้าด้วย โฮล ซึ่งมีประจุบวก) ดังนั้น เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและเอ็นมาต่อกัน จะเกิดรอยต่อพีเอ็นขึ้น โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน อาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความหนา 200-400 ไมครอน (0.2-0.4 มม.) ผิวด้านรับแสงจะมีชั้นแพร่ซึมที่มีการนำไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่รับแสงจะมีลักษณะคล้ายก้างปลาเพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด ส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นขั้วโลหะเต็มพื้นผิว
หลักการทำงานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์
เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนาไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น
ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะมีการเลือกเทคโนโลยีในการติดตั้งแผงเซลล์อาทิตย์ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของแต่ละบริษัท ที่นิยมใช้กันอยู่เวลานี้จะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การติดตั้งแบบอยู่กับที่ (Fixed system) ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงแบบระบุตำแหน่งชัดเจน โดยใช้การคำนวณจากข้อมูลเฉลี่ยของระดับความเข้มของแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อกำหนดองศาของการติดตั้งแผงเพื่อรับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และการติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking system)
อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอยู่กับที่นี้ ทำให้ได้รับค่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ดีเพียงบางช่วงเวลาหรือประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดจาก ทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ จะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ในเวลาเที่ยงวันเท่านั้น จึงทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เต็มศักยภาพเท่าที่ควร แต่ข้อดีของการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบนี้จะมีต้นทุนในการติดตั้งไม่สูงมากนัก และการดูแลรักษาง่าย
นอกจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบคงที่ (Fixed system) ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้กันแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพิ่มสูงขึ้นด้วย นั่นคือ การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking system)
หลักการทำงานของการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบหมุนตามดวงอาทิตย์นี้ เป็นการติดตั้งที่ให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถหมุนตามดวงอาทิตย์ เพื่อรับความเข้มของแสงได้สูงสุดตลอดวัน โดยการหมุนจะถูกควบคุมด้วยระบบเซ็นเซอร์หรือการตั้งเวลา เพื่อควบคุมตำแหน่งของแผงให้หมุนไปตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตามช่วงเวลาระหว่างวัน ซึ่งจะทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เก็บพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นคือ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบคงที่ประมาณ 20%
ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์
- ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิริยาที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
- เป็นการนำพลังงานจากแหล่งธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้
- สามารถนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่บนโลก และได้พลังงานไฟฟ้าใช้โดยตรง
- ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน้ำ
- ไม่เกิดของเสียขณะใช้งาน จึงไม่มีการปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
- ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง
- เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีการเคลื่อนไหวขณะทำงาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ
- ต้องการการบำรุงรักษาน้อยมาก
- อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่
- มีน้าหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว
- เนื่องจากมีลักษณะเป็นโมดูล จึงสามารถประกอบได้ตามขนาดที่ต้องการ
- ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจาพวกน้ามัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ
การประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ในด้านต่างๆ การนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานจากธรรมชาติมาทดแทนพลังงานรูปแบบอื่นๆ ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายในการดำรงชีวิต รวมถึงไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น
บ้านพักอาศัย | ระบบแสงสว่างภายในบ้าน, ระบบแสงสว่างนอกบ้าน (ไฟสนาม, ไฟโรงจอดรถ และโคมไฟรั้วบ้าน ฯลฯ), อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ , ระบบเปิด-ปิดประตูบ้าน, ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบระบายอากาศ, เครื่องสูบน้า, เครื่องกรองน้า และไฟสารองยามฉุกเฉิน ฯลฯ |
ระบบสูบน้า | อุปโภค, สาธารณูปโภค, ฟาร์มเลี้ยงสัตว์, เพาะปลูก, ทำสวน-ไร่, เหมืองแร่ และชลประทาน ฯลฯ |
ระบบแสงสว่าง | โคมไฟป้ายรถเมล์, ตู้โทรศัพท์, ป้ายประกาศ, สถานที่จอดรถ, แสงสว่างภายนอกอาคาร และไฟถนนสาธารณะ ฯลฯ |
ระบบประจุแบตเตอรี่ | ไฟสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน, ศูนย์ประจุแบตเตอรี่ประจำหมู่บ้านในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้, แหล่งจ่ายไฟสาหรับใช้ในครัวเรือนและระบบแสงสว่างในพื้นที่ห่างไกล ฯลฯ |
ทำการเกษตร | ระบบสูบน้า, พัดลมอบผลผลิตทางการเกษตร และเครื่องนวดข้าว ฯลฯ |
เลี้ยงสัตว์ | ระบบสูบน้า, ระบบเติมออกซิเจนในบ่อน้า (บ่อกุ้งและบ่อปลา) และแสงไฟดักจับแมลง ฯลฯ |
อนามัย | ตู้เย็น/กล่องทำความเย็นเพื่อเก็บยาและวัคซีน, อุปกรณ์ไฟฟ้าทางการแพทย์ สาหรับหน่วยอนามัย, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และสถานีอนามัย ฯลฯ |
คมนาคม | สัญญาณเตือนทางอากาศ, ไฟนำร่องทางขึ้น-ลงเครื่องบิน, ไฟประภาคาร, ไฟนำร่องเดินเรือ, ไฟสัญญาณข้ามถนน, สัญญาณจราจร, โคมไฟถนน และโทรศัพท์ฉุกเฉิน ฯลฯ |
สื่อสาร | สถานีทวนสัญญาณไมโครเวฟ, อุปกรณ์โทรคมนาคม, อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพา (เช่น วิทยุสนามของหน่วยงานบริการและทหาร) และสถานีตรวจสอบอากาศ ฯลฯ |
บันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ | แหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับบ้านพักตากอากาศในพื้นที่ห่างไกล, ระบบประจุแบตเตอรี่แบบพกพาติดตัวไปได้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิง ฯลฯ |
พื้นที่ห่างไกล | ภูเขา, เกาะ, ป่าลึก และพื้นที่สายส่งการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ฯลฯ |
อวกาศ | ดาวเทียม |
การประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทในเครือ
ตามที่ภาครัฐได้มีนโยบายในการสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าพลังงานทดแทนนั้น โดยกลุ่มบริษัทได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนา และได้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตที่สูง และมีความเสี่ยงในการดำเนินงานต่ำ ตลอดจนสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่บริษัทและบริษัทย่อยได้ในระยะยาว บริษัทฯ จึงได้ขยายธุรกิจในด้านพลังงานทดแทน โดยเมื่อปลายปี 2554 บริษัทฯได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรก ที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ขนาดกำลังการผลิตรวม 10 เมกกะวัตต์ ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555 เป็นต้นมา และเมื่อปลายปี 2555 กลุ่มบริษัทได้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มอีกหนึ่งแห่ง ที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ขนาดกำลังการผลิต 5 เมกกะวัตต์ และเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปลายปี 2556 กลุ่มบริษัทได้ลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Roof) จำนวน 8 โครงการ
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัท ขนาดกำลังการผลิตรวม 15 เมกะวัตต์
โครงการ | ขนาด (เมกกะวัตต์) | ที่ตั้งโครงการ | เริ่มจำหน่ายไฟฟ้า |
1 | 10 | อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี | 15 ตุลาคม 2555 |
2 | 5 | อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี | 4 กุมภาพันธ์ 2557 |
โรงไฟฟ้าบ่อพลอย อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี
โรงไฟฟ้าลพบุรี อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ขนาดกำลังการผลิตรวม 1.5 เมกะวัตต์
โครงการ | ขนาด(กิโลวัตต์) | ที่ตั้งโครงการ | เริ่มจำหน่ายไฟฟ้า |
1-5 | 1,071.88 | อำเภอกิ่งบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ | 18 กันยายน 2557 |
6 | 129.36 | เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ภายใน 30 มิถุนายน 2558 |
7 | 64.68 | เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร | ภายใน 30 มิถุนายน 2558 |
8 | 237.16 | เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร | ภายใน 30 มิถุนายน 2558 |
รวม 8 โครงการ | 1,503.08 |
ลักษณะผลิตภัณฑ์และการบริการ
กลุ่มบริษัทได้ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค("กฟภ.") โดยกลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) สาหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ในอัตรา 8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี
ทั้งนี้การจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ในแต่ละโครงการสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ได้ โดยจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์หลัก ในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามระเบียบของ BOI ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งได้ดำเนินการขอรับบัตรส่งเสริมจาก BOI เรียบร้อยแล้ว
โครงสร้างรายได้
รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้า : กลุ่มบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟภ. สำหรับการซื้อขายไฟฟ้า ของ โรงไฟฟ้าบ่อพลอย จำนวน 10 เมกกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าลพบุรี จำนวน 5 เมกกะวัตต์ รวม 2 โครงการ เป็นจำนวน 15 เมกกะวัตต์ โดยสัญญามีระยะเวลา 5 ปี ต่ออายุครั้งละ 5 ปี โดยอัตโนมัติ รวมเป็นระยะเวลา 25 ปี และมีผลบังคับใช้จนกว่าผู้ผลิตไฟฟ้ายื่นหนังสือขอยกเลิกสัญญา
รายได้จากส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) : โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนรูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ โดยได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในอัตรา 8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันเริ่มซื้อขายไฟฟ้า
รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต : คาร์บอนเครดิต หมายถึง กรรมสิทธิ์ในปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ภายใต้พิธีสารเกียวโต ที่เกิดจากกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism "CDM") ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) และออกเป็น Certificated Emission Reductions ("CERs") หรือใบรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปเสนอขายต่อไป
สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน
กลุ่มบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยได้รับสิทธิ์ประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการระยะเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้ และภายหลังจากระยะเวลา 8 ปี ดังกล่าว กิจการจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี และโรงไฟฟ้าบ่อพลอยเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2555 ส่วนโรงไฟฟ้าลพบุรีคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ประมาณต้นปี 2557
อัตราภาษีที่ชำระสามารถสรุปได้ ดังนี้ :-
ปี | อัตราภาษีที่ได้รับการยกเว้น | อัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่ต้องชำระ * |
ปีที่ 1 – ปีที่ 8 | 100% | 0% |
ปีที่ 9 – ปีที่ 13 | 50% | 15% |
ตั้งแต่ปีที่ 13 ขึ้นไป | 0% | 30% |
* คำนวณจากอัตราภาษีเงินได้ปกติ 30%
การตลาดและภาวะการแข่งขัน
กลยุทธ์การแข่งขัน
การประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่ไม่มีการแข่งขันทางตรงกับผู้ประกอบการรายใด เนื่องจากการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. นั้น ผู้ประกอบการจะต้องได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าตามราคาและเงื่อนไขที่ได้รับจาก กฟภ. เท่านั้น
ด้วยลักษณะของธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว กลุ่มบริษัทได้กำหนดกลยุทธ์หลักสำหรับธุรกิจ โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และมีการเจริญเติบโตของผลการดำเนินงาน ดังนี้
- มุ่งเน้นการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (VSPP) จากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
จากการที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนนั้น กลุ่มบริษัทจึงมีกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นที่จะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) ในการจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ กฟภ. เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว ไม่มีความเสี่ยงในด้านการแข่งขัน สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ อีกทั้งยังมีความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ และสามารถคืนทุนให้แก่บริษัทได้ในระยะเวลาที่สั้น - การเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า
กลุ่มบริษัทพิจารณาเลือกแผงโซล่าเซลล์ อุปกรณ์ต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพที่ใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่สูงตามขนาดกาลังการผลิตที่กำหนด ซึ่งคัดเลือก จากผู้ผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากต่างประเทศ โดยเป็นผู้ที่มีความสามารถในกระบวนการผลิตครบถ้วนทุกขั้นตอน เริ่มตั้งต้นจนกระทั่งเสร็จกระบวนการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งยังมีหน่วยงานวิจัยและการพัฒนาเป็นของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างหรืออาศัยในบางขั้นตอนการผลิต เช่นเดียวกับผู้ผลิตรายอื่น ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้เปรียบเทียบกับผู้ผลิตในประเทศอื่น ๆ แล้ว เห็นว่าผู้ผลิตรายนี้มีแผงโซล่าร์เซลล์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ และเทคโนโลยีทันสมัย มีประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า และราคาที่เหมาะสมในการลงทุน อีกทั้งมีความพร้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่กลุ่มบริษัทได้
ลักษณะของลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย
ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทได้แก่หน่วยงานทางด้านไฟฟ้าของภาครัฐเพียงรายเดียว โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง) ทั้งนี้โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนในปัจจุบันนั้น กำหนดให้ต้องผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าทั้งหมดให้กับหน่วยงานการไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตามรายละเอียด และเงื่อนไขสัญญารับซื้อไฟฟ้า
การจัดหาผลิตภัณฑ์
ระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์ และแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าชนิดกระแสตรง ส่งผ่านไปยังตู้รวมกระแสย่อย เพื่อรวบรวมไฟฟ้าในแต่ละชุดเข้าด้วยกัน จากนั้นส่งไปยังเครื่องแปลง กระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ และแปลงแรงดันให้สูงขึ้นโดยหม้อแปลงแรงดัน เพื่อส่งต่อไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้าแรงดันสูงและทำการจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่อไป
ระบบการ
บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน)
จังหวัด กาญจนบุรี
จังหวัด ลพบุรี